ศิลปะ Expressionism ในเยอรมันมี 2 กลุ่มคือ
1 Die Brucke ที่แปลว่า สะพาน กลุ่มนี้จะเชื่อมโยงศิลปะที่แปลกแนวต่างๆ
2 Der Blaue Reiter ที่แปลว่า คนขี่ม้าสีนำเงิน ชื่อนี้ได้มาจากหนังสือที่ Kandinsky จัดพิมพ์ โดยชื่อหนังสือนี้ ก็ได้มาจากงานเขียนของ Kandinsky เองอีกทีหนึ่ง
กลุ่ม Der Bladue Reiter นี้จะมีความสำคัญกว่ากลุ่ม Die Brucke โดยกลุ่มนี้มี Kandinsky เป็นผู้นำ กลุ่ม Kandinsky เกิดใน Moscow โดยเขาเป็นนักศึกษากฏหมายและเศรษศาสตร์ แต่เมื่อเขาได้ไปเที่ยวที่ Paris และได้ดูงานแสดงศิลปกรรมทำให้ Kandinsky ตัดสินใจเป็นจิตรกรเมื่ออายุได้ 30 ปี ในหัวของ Kandinsky นั้น เขาคิดว่าจะทำงานศิลปะในแบบ Non - Objective Painting หรือ ภาพจิตกรรมที่ไม่มีเรื่องราวเขาได้เขียนตำรา ที่ศึกษาค้นคว้ามาอย่างหนักชื่อ "Concerning the Spiritual in Art" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวพันกันระหว่าง ศิลปะ และ ดนตรี โดย Kandinsky เองเกิดความรู้สึกในเรื่อง Dematerialization ในงานของ Monet และในงานของพวก Impressionism ,Symbolists, Fauves, Cubism, โดย Kandinsky เองเขามั่นใจว่า ศิลปะนั้นน่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับทางจิตวิญญาณ (Spiritual) มากกว่าวัตถุ (Material) โดย Kandinsky พูดไว้ว่า "หลักการประสานสี และรูปทรง ย่อมขึ้นอยู่กับการจับจิตวิญญาณของมนุษย์เพียงเท่านั้น" ศิลปะแบบ Expressionism นี้จะมุ่งการแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ จิตวิญญาณ มากกว่ามุ่งนำเสนอความเป็นจริง ทางวัตถุ โดยสื่อผ่านการใช้สีที่รุนแรง กดดัน ฝีแปรงที่อิสระ โดยรับเอาอิทธิพลของกลุ่มศิลปะต่างๆเช่น การรับสีสด และฝีแปรงอิสระจากศิลปะแบบ Fauvism, ความรู้สึกบีบคั้นกดดันจากจิตใจของมนุษย์จาก Van Gogh หรือแม้ กระทั่ง ลักษณะการตกแต่งจากศิลปะแบบ Art Nouveau
The Night Cafe ภาพนี้ Van gogh วาดขึ้นในช่วงปี คศ. 1888 ซึ่งเป็นช่วงที่ Van gogh ได้ย้ายไป อยู่ที่เมือง Arles ใน Provence ซึ่งเป็นเมืองทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส ณ.ที่นี้เอง Van gogh ได้ทุ่มเทในการ ทำงานของเขาอย่างบ้าคลั่ง ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในสภาพความเป็นอยู่ที่อัตคัต ขัดสน และช่วงเวลานี้เองที่ Van gogh ได้วาดภาพ ที่มีชื่อเสียงมากของเขาภาพหนึ่ง เป็นภาพภายใน Cafe แห่งหนึ่ง Van gogh ได้ใช้สีแดงกับ สีเขียว ตัดกันอย่างรุนแรงมากๆ ซึ่งทำให้รู้สึกว่า Cafe แห่งนี้นั้นเป็นสถานที่ ที่อาจทำให้คนเข้ามาเสียผู้ เสียคน เสียสติ หรือก่ออาชญากรรมได้ หรือพูดง่ายๆก็คือ Cafe แห่งนี้เป็นที่รวมของพวกคนไม่ดีทั้งหลายแหล่ คนที่ล้มเหลวในชีวิต ที่โต๊ะมีคนเมานอนฟุบหมดสติอยู่
ภาพ Night Cafe ของ Van gogh ภาพนี้นั้น เป็นการริเริ่มที่จะเป็นศิลปะ แบบ Expressionism โดยเห็นได้ จากการใช้ฝีแปรงที่ขาดห้วน ใช้เส้นง่ายๆ ที่มีพลังส่งอารมณ์บวกกับการใช้สี ที่แสดงความรู้สึกสีที่สื่อความหมาย และสีที่จัดตัดกันอย่างรุนแรง เช่น สีแดงกับสีเขียว และการใช้สีและฝีแปรงลักษณะนี้นี่เองที่ส่งอิทธิพลอย่างมากให้กับ ศิลปะ Expressionism ในช่วงต่อมา
ภาพ Night Cafe ของ Van gogh ภาพนี้นั้น เป็นการริเริ่มที่จะเป็นศิลปะ แบบ Expressionism โดยเห็นได้ จากการใช้ฝีแปรงที่ขาดห้วน ใช้เส้นง่ายๆ ที่มีพลังส่งอารมณ์บวกกับการใช้สี ที่แสดงความรู้สึกสีที่สื่อความหมาย และสีที่จัดตัดกันอย่างรุนแรง เช่น สีแดงกับสีเขียว และการใช้สีและฝีแปรงลักษณะนี้นี่เองที่ส่งอิทธิพลอย่างมากให้กับ ศิลปะ Expressionism ในช่วงต่อมา
Edvard Munch เขาเป็นผู้บุกเบิกศิลปะ Expressionism คนสำคัญ ภาพรูปคนกำลังหวีดร้องนี้ (The Scream) เป็นส่วนหนึ่งของความคิด "Frieze of Life" ของเขา ซึ่งก็คือความคิดในเรื่องของครรลองชีวิต ทั้งในเรื่องของความรัก และความตาย ภาพนี้ Munch ได้แรงดลใจมาจากตอนที่เขาเดินอยู่ที่ชายทะเลแห่งหนึ่ง ในยามที่พระอาทิตย์กำลังตกดิน และขณะนั้น Munch เองไม่สบายเจ็บป่วยและเหน็ดเหนื่อยมาก โดยที่บรรยายกาศ รอบข้างนั้นชวนให้รู้สึกหดหู่ กดดัน เมฆมืดครึ้มตกลงมาตำปกคลุมไปทั่ว ความรู้สึกกดดันและความรู้สึกเจ็บปวดนี้ Munch ถ่ายทอดออกมาด้วยการใช้ที่ แสดงความเจ็บปวด รูปทรงที่บิดเบี้ยว สับสน ยุ่งเหยิง เส้นที่หมุนวนทำ ให้ดูแล้วรูสึกเวียนศรีษะ เส้นทะแยงมุมที่เป็นราวสะพานนั้นได้สร้างให้ Perspective ที่บิดเบือนไปทั่วทั้งภาพ สีแดงกับสีม่วงอมนำเงินที่ตรงกันข้ามนี้ ได้ถูกนำมาผสมกัน ซึ่งการผสมกันของสีนี้นี้บวกกับองค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวมามันทำให้ภาพนี้ กดดันทั้งประสาทตาที่ดูแล้วรู้สึกเวียนศรีษะ กับโสทประสาทของหูที่ต้องรับฟังเสียง กรีดร้องที่ดังมาก ซึ่งทั้ง 2 โสทประสาทนี้ ถูกดึงเข้ามาเชื่อมโยงกันอย่างที่ไม่ค่อยมีใครเคยทำมาก่อนทั้งนี้ เพราะ ว่างานศิลปะของ Munch นั้นเขาได้ให้ความสำคัญกับเนื้อหา และเพียรคิด ค้นคว้า ทดลองหารูปทรงที่แปลกมา ใส่ในภาพของเขา เพื่อให้ได้ภาพที่คนดูอย่างเรา แถบจะได้ยินเสียงหวีดร้องออกมาจากภาพนี้เลยทีเดียว
ขอขอบคุณ http://artofcolour.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น